ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท(Offset) เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบัน เพราะมีความคมชัดสวยงามคุณภาพสูง มีความละเอียดมาก การออกแบบอาร์ตเวิร์ค ไม่ว่าจะออกแบอย่างไร การพิมพ์ก็ไม่ยุ่งยากมากจนเกินไป ประกอบกับความก้าวหน้า ในการทำเพลทแม่พิมพ์ และการแยกสี เพื่อออกฟิล์ม และ เพลทแม่พิมพ์ ซึ่งในปัจจุบันทำให้ยิ่งพิมพ์จำนวนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่ง ถูกลงมากเท่านั้น สิ่งพิมพ์และจำนวนพิมพ์ ที่จะพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ทควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
มีจำนวนใบพิมพ์ตั้งแต่ 100ใบพิมพ์ขึ้นไป/มีภาพประกอบหรืองานประเภท กราฟฟิคสูง ภาพเหมือนจริง ภาพถ่าย ความละเอียดสูง/.ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์จำนวนเยอะๆ 1 ชั่วโมงสามารถพิมพ์ได้ 5,000-1,0000 ใบพิมพ์/.ต้องการความละเอียดสูง สีสวย คมชัด สวยงาม สอดสีไล่โทนสีสวยงาม/เป็นการพิมพ์หลายสี สามารถทำได้ตั้งแต่ 1 สี ถึง 4 สี + สีพิเศษ หรือภาพสีที่ต้องการความสวยงามมากๆ/มีอาร์ตเวิร์ครูปแบบ ที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก รายละเอียดค่อยข้างเยอะ ตัวหนังสือเล็กมาก/มีงบประมาณในการจัดพิมพ์เพียงพอ เพราะระบบพิมพ์ออฟเซ็ท จะมีต้นทุกการตั้งเครื่องสูง เช่นค่าเพลทแม่พิมพ์ ค่าบล็อกไดคัท ค่ากระดาษตั้งเครื่องพิมพ์ แต่ถ้าจำนวนเยอะๆจะค่อนข้างถูกกว่าระบบพิมพ์ระบบอื่นหลายเท่า
ขั้นตอนและหลักการการพิมพ์ระบบออฟเซ็ท
การพิมพ์วิธีนี้ใช้แผ่นเพลทแม่พิมพ์เป็นโลหะพื้นแบนแต่นำมายึดติดกับลูกโมแม่พิมพ์(Plate cylinder) จะมีลูกกลิ้งน้ำทาน้ำบนแผ่น แม่พิมพ์ ก่อนลูกกลิ้งน้ำนี้เรียกว่าลูกนี้ (Water roller) หรือ (dampening roller) แล้วจึงมีลูกหมึกทาหมึกบนแม่พิมพ์ หมึกที่เกาะติดเพลทแม่พิมพ์นี้ จะถูกถ่ายทอดลงบนลูกโมยาง (Rubber cylinder) ลูกโมยางนี้เป็นลูกโมโลหะทรงกลมแต่ถูกหุ้มไว้ด้วย แผ่นยาง โดยจะนำแผ่นยางมายึดติดกับลูกโม ลูกโมยางนี้เมื่อรับหมึกจากแม่พิมพ์แล้วก็จะนำไปพิมพ์ ติดบนแผ่นกระดาษ หรือวัสอื่นๆที่เป็นชนิดงานแผ่น ซึ่ง จะมีลูกโมแรงกด (impressioncylinder)อีกลูกโมหนึ่งจับกระดาษมากดกับ ลูกโมยาง และรับหมึกจากลูกโมยางให้ติดบน กระดาษก็จะได้ชิ้นงานพิมพ์ตามต้องการ ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทจึงจะต้องมีลูกโม 3 ลูก ขนาดเท่าๆกัน หมุนพิมพ์กระดาษ ออกมาแต่ละครั้งในเมื่อหมุนรอบหนึ่ง การพิมพ์หมึกนั้นไม่ได้ผ่านจากแม่พิมพ์ออฟเซ็ทมาพิมพ์ แผ่นกระดาษโดยตรงแต่ถ่าย ทอดมาโดยผ่านลูกโมยางก่อน ดังนั้นภาพที่พิมพ์ก็ดี ภาพก็ดี ที่ปรากฏบนแผ่นแม่พิมพ์จึงเป็น ตัวหนังสือ ที่อ่านได้ตามปกติ ภาพก็เป็นภาพที่ตรงกับภาพที่พิมพ์ออกมา เมื่อแม่พิมพ์พิมพ์ตัวหนังสือลงบนยางตัวหนังสือบนลูกโมยางจะกลับ ซ้ายเป็นขวา และขวาเป็นซ้าย และเมื่อลูกโมยางพิมพ์ลงบนกระดาษก็จะได้ ตัวหนังสือและภาพเป็นปกติตามเช่นเดียวกับแม่พิมพ์ ออฟเซ็ท (เพลทแม่พิมพ์ออฟเซ็ท) การพิมพ์ออฟเซ็ทเป็นวิธีพิมพ์ที่แพร่หลายอยู่มากในขณะนี้ เพราะสามารถพิมพ์ภาพได้ชัดเจน สวยงาม และรวดเร็วในการพิมพ์จำนวนเยอะๆ คุณภาพสูงมาก เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทส่วนใหญ่ที่นิยมพิมพ์กันจะเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดแผ่น ส่วนมากหลักของการพิมพ์ offset คือ น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสองส่วน คือบริเวณที่ไม่มี ภาพก็จะเป็น ที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึกหน้าที่ของบริเวณทั้งสองของแม่พิมพ์ออฟเซ็ท
ประวัติการพิมพ์ออฟเซ็ทในประเทศไทย
ย้อนไปในปีพ.ศ.2205 (ค.ศ.1662) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกรุงศรีอยุธยาโดยมีมิชชันนารีฝรั่งเศสซึ่ง เข้ามาสอนศาสนา ในสมัยนั้น จากจำนวนบาทหลวงที่เข้ามายังประเทศไทย มีสังฆราชองค์หนึ่ง มีชื่อว่า ลาโน(Mgr Laneau)ได้ริเริ่มแต่ง และพิมพ์หนังสือ คำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้น นัยว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพอพระทัยการพิมพ์ ออฟเซ็ท ตามวิธีฝรั่งของ สังฆราชลาโน ถึงกับทรงโปรดให้ตั้ง โรงพิมพ์ ขึ้นที่เมืองลพบุรี เป็นส่วนของหลวงอีกโรงพิมพ์หนึ่งต่างหาก และต่อมาภายหลังรัช สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขับไล่บาทหลวงฝรั่งเศสออกจากราชอาณาจักรสยาม กิจการ โรงพิมพ์ ในสมัยอยุธยา จึงหยุดชะงักและไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการพิมพ์หลงเหลืออยู่
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อบ้านเมืองเริ่มปกติดีแล้ว บาทหลวงคาทอลิก มีชื่อว่า คาร์โบล ได้ กลับเข้ามาสอนศาสนา จึงจัดตั้ง โรงพิมพ์ และเริ่มพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่า เป็นปีค.ศ.1796 (พ.ศ.2339) ซึ่งคาบเกี่ยวมาถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และสันนิษฐานได้ว่า แม่พิมพ์ช่วงแรกๆคงใช้ วิธีการแกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้า ๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงพิมพ์โลหะ ในปี พ.ศ.2356 (ค.ศ.1813) ได้มีการหล่อตัวพิมพ์ เป็นภาษาไทย ขึ้นเป็นครั้งแรกโดย นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกัน และเข้ามาดำเนินกิจการ ทางศาสนาในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นางมีความสนใจภาษาไทยจากเชลยชาวไทยในพม่าและได้ดำเนินการหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้น เป็นครั้งแรก ต่อมา ตัวแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ได้ถูกนำไปยังเมืองกัลกัตตา และมีผู้ซื้อต่อโดยนำมาไว้ที่สิงคโปร์ นักบวชอเมริกันได้ซื้อ ตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ ดังกล่าวแล้วนำเข้าสู่เมืองไทยอีกทีหนึ่ง โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commisioner for Foreign Missions (กำธร สถิรกุล. 2515 : 198) พ.ศ.2371 (ค.ศ.1828) นายทหารอังกฤษชื่อ ร้อยเอกเจมส์โลว์ (Captain James Low) รับราชการอยู่กับ รัฐบาลอินเดีย มาทำงานที่เกาะปีนังเรียนภาษาไทยจนมีความสามารถเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ไทยขึ้น และได้ จัดพิมพ์หนังสือ ไวยากรณ์ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า “A Grammar of the Thai) พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press ที่เมืองกัลกัตตา หนังสือเล่มนี้ยังคงมี เหลือตกทอดมาให้เห็นจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวเรียงภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่จะหาได้ในปัจจุบัน